ไม่เพียงแค่ผู้ใหญ่เท่านั้น ที่อาจจะต้องพบกับสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้มีความจำเป็นต้องครอบฟัน แต่เด็ก ๆ ก็อาจมีเหตุที่ทำให้ต้องครอบฟันน้ำนมเช่นกัน คือ
- เพื่อซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากฟันผุ ในกรณีที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ด้วยการอุดฟัน
- เพื่อปกป้องฟันให้กับเด็กบางกลุ่ม ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะฟันผุ โดยเฉพาะเด็ก ที่ไม่สามารถดูแลความสะอาดประจำวันได้อย่างเหมาะสม
- เพื่อลดหรือระงับความรู้สึก ให้กับเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ เด็กที่ต้องรับประทานยา หรือรับการบำบัดรักษาโรคบางอย่าง ที่มีผลกระทบในเรื่องของฟัน รวมไปถึง เรื่องของอายุ และพฤติกรรมบางอย่าง ที่ทันตแพทย์วินิจฉัยแล้วว่า สมควรจะต้องครอบฟัน แต่ทั้งนี้ ในการครอบฟันเด็ก ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ใช้วัสดุที่เป็นโลหะ หรือ แสตนเลสสตีล
การครอบฟัน
การครอบฟัน คือการครอบวัสดุทางทันตกรรมลงไปบนฟัน เพื่อที่จะปกปิด และรักษาฟันซี่นั้น ให้มีรูปร่าง ขนาด และความแข็งแรง ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน และมีความสวยงามด้วย
สาเหตุที่ทำให้ต้องครอบฟันมีหลายสาเหตุ ดังนี้
- เพื่อปกป้องซี่ฟันที่ไม่แข็งแรง จากการที่ฟันผุมาก ฟันแตกหัก หรือเพื่อยึดฟันที่แตกออกเป็นส่วนเข้าด้วยกัน
- เพื่อรักษา หรือซ่อมแซม ฟันที่หักไปแล้ว รวมทั้งฟันที่เคยผ่านการซ่อมมาแล้ว และเกิดความเสียหายขึ้นอีก
- เพื่อปกปิดและรองรับการใช้งานของฟันที่ผ่านการอุด ในบริเวณกว้าง ซึ่งการที่ฟันผุกินบริเวณกว้างนั้น ต้องกรอฟันออก ทำให้สูญเสียเนื้อฟันไปมากและอาจจะไม่แข็งแรงเหมือนเดิม
- เพื่อเป็นที่ยึดเกาะสำหรับการทำสะพานฟัน
วัสดุที่นำมาใช้ครอบฟัน มีหลายชนิด
- สแตนเลส สตีล (Stainless steel) มักจะนำมาใช้ในการครอบฟันน้ำนมให้กับเด็ก เพราะการใช้วัสดุชนิดนี้ ทำให้ไม่ต้องมาพบทันตแพทย์บ่อยนัก และมีราคาไม่สูง เป็นการใช้เพื่อรอฟันแท้ขึ้นมาใหม่เท่านั้น
- โลหะ (Metal) ที่นำมาใช้ครอบฟัน จะมีทั้งทองอัลลอยด์ และอัลลอยด์แบบอื่น ๆ เมื่อเทียบการครอบวัสดุชนิดนี้ กับชนิดอื่น จะพบว่า การใช้โลหะนั้น ทำให้ต้องสูญเสียเนื้อฟันจากการกรอน้อยว่าวัสดุอื่น รองรับการกัด การเคี้ยวได้ดี เพราะมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่แตกหักง่าย อีกทั้งอายุการใช้งาน ยังยาวนานกว่าชนิดอื่นด้วย แต่ข้อจำกัดคือสีของวัสดุนั้น ไม่เหมือนกันสีฟันธรรมชาติ ทำให้ดูแล้วไม่สวยงามเท่าที่ควร
- พอร์ซเลน หลอมกับโลหะ (Porcelain-fused-to-metal) วัสุดชนิดนี้ จะมีสีเหมือนกับฟันธรรมชาติ มีความสวยงาม ทนทาน แต่ใช้นาน ๆ ไปสีของโลหะที่อยู่ด้านล่าง อาจจะปรากฏออกมาให้เห็นเป็นเส้นดำ ๆ ได้ โดยเฉพาะในบริเวณแนวเหงือก และหากมีอาการเหงือกร่น ก็จะยิ่งเห็นได้ชัด
- เรซิน (All-rasin) เป็นวัสดุครอบฟันที่มีราคาต่ำที่สุด แต่เสื่อมสภาพได้ และไม่แข็งแรงเหมือนการใช้พอร์ซเลน หลอมกับโลหะ โดยส่วนใหญ่มักใช้เป็นครอบฟันชั่วคราว
- เซรามิค หรือ พอร์ซเลน (All-ceramic or All-porcelain) วัสดุชนิดนี้ สามารถทำให้มีสีเหมือนกับฟันธรรมชาติได้มากที่สุด เหมาะสำหรับคนไข้บางรายที่แพ้โลหะ แต่มีความแข็งแรงไม่มากนัก เมื่อเทียบการแบบที่หลอมเข้ากับโลหะ แต่ด้วยความที่มีสีเหมือนธรรชาติ จึงนิยมนำมาใช้กับการครอบฟันซี่หน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เซรามิค
ขั้นตอนในการครอบฟันนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นคือ ขั้นของการเตรียมการ และขั้นของการครอบ
- ขั้นเตรียมการนั้น เริ่มจากการเข้ารับคำปรึกษา และตรวจเช็คจากทันตแทย์ จากนั้น จะต้องมีการกรอฟัน เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการครอบ โดยทันตแพทย์อาจจะมีการใช้ยาชาช่วยระงับความรู้สึก จากนั้นจะมีการพิมพ์ปาก เพื่อทำครอบฟัน ซึ่งจะต้องเป็นการทำขึ้นสำหรับคนไข้เฉพาะรายบุคคลที่ห้องแลป ในระหว่างที่รอครอบฟันถาวรนั้น ทันตแพทย์ จะใส่ครอบฟันแบบชั่วคราวให้ก่อน และนัดหมายมาครอบฟันจริงต่อไป
- ขั้นเตรียมการนั้น เริ่มจากการเข้ารับคำปรึกษา และตรวจเช็คจากทันตแทย์ จากนั้น จะต้องมีการกรอฟัน เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการครอบ โดยทันตแพทย์อาจจะมีการใช้ยาชาช่วยระงับความรู้สึก จากนั้นจะมีการพิมพ์ปาก เพื่อทำครอบฟัน ซึ่งจะต้องเป็นการทำขึ้นสำหรับคนไข้เฉพาะรายบุคคลที่ห้องแลป ในระหว่างที่รอครอบฟันถาวรนั้น ทันตแพทย์ จะใส่ครอบฟันแบบชั่วคราวให้ก่อน และนัดหมายมาครอบฟันจริงต่อไป
- ขั้นของการครอบฟัน ทันตแพทย์ จะนำครอบฟันชั่วคราวออก และใส่ครอบฟันถาวรให้ จากนั้นจะปรับแต่งให้สวยงาม และใช้งานได้อย่างเหมาะสม แนะนำการดูแลรักษา และการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี รวมทั้งนัดหมายเพื่อติดตามผลการรักษาต่อไป
ที้งนี้ หลังการครอบฟันมาใหม่ ๆ คนไข้ควรให้ความระมัดระวังการใช้งานดังนี้
- หลีกเลี่ยงการกัด หรือการเคียวของแข็ง อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- ลด หรือป้องกันอาการบวมของเหงือก ด้วยการนำน้ำอุ่น ผสมเกลือ บ้วนปากอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
- ดูแลความสะอาดเพื่อป้องกันโรคเหงือก
- หากมีอาการเสียวฟัน อาการจะหายไปเองในเวลาไม่นานนั้น แต่ในระหว่างนั้น ควรหลีกเลี่ยงการดื่ม หรือรับประทานอาหารที่ร้อนจัด หรือเย็นจัด รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาการที่มีความเป็นกรด อย่างเช่นมะนาว
และเมื่อพ้นระยะแรกไปแล้ว ก็สามารถดูแลรักษาความสะอาดได้ด้วยวิธีปกติ คือ
- ทำความสะอาดด้วยการแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน และน้ำยาบ้วนปากอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
- หลีกเลี่ยงการใช้งานหนักและการขบกัดของแข็ง บริเวณที่ครอบฟัน
- พบทันตแพทย์ เพื่อตรวจเช็คตามปกติเป็นประจำทุก 6 เดือน